วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เครื่องดนตรีไทย

เครื่องดนตรีไทย คือ เครื่องดนตรี ที่สร้างสรรค์ขึ้นตามศิลปวัฒนธรรมดนตรีของไทย ที่มีรูปแบบเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ซึ่งสัมพันธ์กับชีวิตความเป็นอยู่และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของคนไทย โดยนิยมแบ่งตามอากัปกิริยา ของการบรรเลง
    
ประเภทเครื่องดนตรีไทย
เครื่องดีด
เครื่องสี
เครื่องตี
เครื่องเป่า
เครื่องดีด
          เครื่องดีดคือ เครื่องดนตรีไทยที่บรรเลงหรือเล่นด้วยการใช้นิ้วมือ หรือไม้ดีด ดีดสาย ให้สั่นสะเทือนจึงเกิดเสียงขึ้น เครื่องดนตรีไทยประเภทนี้มีหลายชนิด แต่ที่นิยมเล่น กันแพร่หลาย ในปัจจุบันมีอยู่ไม่กี่ชนิด คือ กระจับ พิณน้ำเต้าและจะเข้

กระจับปี่  คือ พิณชนิดหนึ่งมี 4 สาย กะโหลกเป็นรูปรีแบน ทั้งด้านหน้า และด้านหลังทวนยาวเรียว โค้งมีนมรับนิ้ว สำหรับกดสาย 11 นม  ไม้ดีดทำด้วยเขาหรือกระดูกสัตว์ กระจับปี่เป็นเครื่องดนตรีโบราณ
                                                                                                                                                                   
พิณ
พิณมี 2 ชนิดสือ พิณน้ำเต้า และพิณเพียะ ลักษณะคล้ายกัน คือกะโหลกทำด้วยน้ำเต้ามีลูกบิดสายสำหรับเร่ง และตั้งเสียง พิณน้ำเต้ามีสายเดียว ส่วนพิณเพียะมี 4 สาย ใช้ดีดประสาน และคลอกับเสียงร้องของผู้เล่นเอง
                                                                                               
ซึง
ซึงมี 4 สายเหมือนกระจับปี่ มีรูปร่างคล้าย พิณวงเดือนของจีน (จีนเรียก เยอะฉิน) ของไทยทางภาคเหนือ เรียก ซึง ส่วนภาคอีสาน เรียกพิณอีสานเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือใช้ประสมวงกับปี่ซอ


    
จะเข้
เป็นเครื่องดีดที่มีเสียงกังวาน ไพเราะ สันนิษฐานว่า ปรับปรุงมาจากพิณ เพื่อให้นั่งดีดได้สะดวก ตัวจะเข้ทำด้วยไม้ขนุนท่อนเดียวมีเท้ารองตอนหัว 4 อัน ตอนปลายหาง อีก 1 อัน  มี 3 สาย ไม้ดีดกลม ปลายแหลม ใช้ดีดไปบนสายที่พาดบนนม นม มี 11 อัน ประสมอยู่ในวง เครื่องสาย วงมโหรี

   

เครื่องสี
เครื่องสี    เป็น เครื่องสายที่ทำให้เกิดเสียงด้วยการใช้คันชักสีเข้ากับสายในดนตรีไทย มีอยู่ 3 ชนิดคือ ซอด้วง ซอสามสาย และซออู้
ซอสามสาย
เป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ของไทย ในสมัยสุโขทัยเรียก ซอพุงตอ กะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าวชนิดพิเศษ คือมีกะลานูนเป็นกระพุ้งออกมา 3 ปุ่ม ขึงหนังแพะหรือหนังลูกวัวปิดปากกะลาส่วนประกอบที่สำคัญนอกจาก หย่องซึ่งเป็นไม้สำหรับหนุนสายตรงหนังซอให้สายตุงออกมายังมีถ่วงหน้าตรงด้านซ้ายตอนบนซึ่งช่วยให้ซอมีความไพเราะ กังวาน ทั้งยังเป็นที่ประดับประดา อัญมณีเพื่อให้เกิดความสวยงาม ใช้บรรเลงประสมอยู่ ู่ในวงขับไม้ วงมโหรี และวงดนตรีประกอบชุดโบราณคดี
 
                                                                
ซอด้วง
มี 2 สาย กะโหลกซอเดิมทำด้วยกระบอกไม้ไผ่ ในปัจจุบันนิยมใช้ไม้เนื้อแข็งเจาะกลึง ขึ้นหน้ากะโหลก ซอด้วยหนังงูเหลือม คันทวนตอนบนปาดปลาย ลักษณะคล้ายโขนเรือ มีลูกบิด 2 อันสอดคันชักระหว่าง สายซอทั้ง 2 เส้น เนื่องจากรูปร่างลักษณะของซอคล้ายด้วงดักสัตว์จึงเรียกว่า “ซอด้วง ใช้ประสม ในวงเครื่องสาย และมโหรี ทำหน้าที่เป็นเครื่องนำวงในวงเครื่องสาย

  
ซออู้
มี 2 สาย กะโหลกทำจากกะลามะพร้าวปาดข้าง และแกะสลักลวดลาย เพื่อเปิดให้มีช่องเสียง หุ้มหนัง ซอด้วย หนังแพะ หรือหนังลูกวัว คันทวนตั้งตรง ลักษณะเด่นของซออู้ คือ เสียงที่ทุ้มต่ำกังวาน  ดำเนินการบรรเลงให้มีท่วงทำนองอ่อนหวาน เศร้าโศกได้ดี ประสมอยู่ในวงเครื่องสาย วงมโหรี วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ วงปี่พาทย์ไม้นวม และวงดนตรีประกอบระบำชุดโบราณคดี

 

สะล้อ
เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของภาคเหนือ มี  2-3 สาย ลักษณะคล้ายซออู้กับซอสามสายผสมกัน มีคันชัก อยู่ด้านนอก ใช้บรรเลงเดี่ยวบ้าง บรรเลงประสมกับซึงบ้าง หรือกับปี่ซอบ้าง เป็นต้น
  
                                                                          
เครื่องตี
เครื่องตีคือ เครื่องดนตรีประเภทนี้จะต้องมีการกระทบกันจึงจะเกิดเสียงดังออกมาและการกระทบกันที่ว่านี้มีหลายวิธี เช่น การตี การเขย่า การเคาะ การตีอาจจะใช้ไม้ตี หรืออาจจะใช้สิ่งหนึ่งกระทบเข้ากับอีกสิ่งหนึ่งเพื่อทำให้เกิดเสียง เครื่องตีกระทบประกอบขึ้นด้วยวัสดุของแข็งหลายชนิด เช่น โลหะ , ไม้ หรือ แผ่นหนังขึงตึง
ระนาดเอก
เป็นเครื่องดนตรีที่มีวิวัฒนาการมาจากกรับ โดยการนำกรับหลายอันที่มีขนาดแตกต่างกันมาร้อยเรียง และ แขวนบนรางระนาด ผืนระนาดทำจากไม้ไผ่บง ไม้ชิงชัน ไม้มะหาด ไม้พยุง เป็นต้น  มีลูกระนาด 21-22 ลูกเทียบเสียงด้วยการติดตะกั่วผสมขี้ผึ้ง มีไม้ตี 2 ชนิด ไม้แข็ง และไม้นวม โดยปกติจะตีพร้อมกัน ทั้ง 2 มือ เป็นคู่แปด ดำเนินทำนองเก็บถี่โดยแปรจากทำนองหลัก(ฆ้อง)      เป็นทำนองเต็มทำหน้าที่เป็นผู้นำวง

 
ระนาดทุ้ม
เป็นเครื่องดนตรีที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยประดิษฐ์เลียนแบบระนาดเอก แต่ใหญ่ กว้าง  และเสียงทุ้มกว่า มีลูกระนาด 17-18 ลูก ทำหน้าที่ แปรทำนองหลักจากฆ้อง เป็นทาง และลีลาตลกคะนอง มีการขัด ล้อ ล้วงล้ำ เหลื่อม เป็นต้น ตีสอดแทรก ยั่วเย้า หยอกล้อ ไปกับเครื่องดำเนินทำนองให้สนุกสนาน

 
ระนาดเอกเหล็ก
เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
ระนาดทอง  เป็นเครื่องดนตรีที่ประดิษฐ์ขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 4โดยประดิษฐ์จากเหล็ก หรือทองเหลือง เมื่อบรรเลง จึงมีเสียงดังกว่าระนาดไม้ ทำหน้าที่ในการบรรเลง โดยแปรลูกฆ้องออกเป็นทำนอง เต็มเหมือน ระนาดเอก เพียงแต่ไม่ทำหน้าที่ผู้นำวงเท่านั้น

 
                                                                             
ระนาดทุ้มเหล็ก
ประดิษฐ์ขึ้นในสมัย
รัชกาลที่ 4 โดยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริให้สร้างขึ้น โดยทรงได้แนวคิด มาจากหีบเพลงฝรั่ง ระนาดทุ้มเหล็กมี 16 ลูก ทำหน้าที่โดยแปรลูกฆ้องออก เป็นทำนอง เต็ม มีเสียงกังวาน และหึ่งจึงคล้าย (Bass) ของวง ดนตรีตะวันตก

     
                                                                              
ฆ้องวงใหญ่
วิวัฒนาการมาจากฆ้องเดี่ยว
ฆ้องคู่ ฆ้องราว และฆ้องราง จนกระทั่งเป็นฆ้องวง โดยมีลูกฆ้องร้อยเรียงบนรางรอบร้านฆ้อง จำนวน 16 ลูก เรียงจากลูกใหญ่ด้านซ้ายมือ มาหาลูกเล็กด้านขวามือ ดำเนินทำนองหลักอันเป็นแม่บทของเพลง จัดเป็นเครื่องดนตรีที่มีความสำคัญที่สุด นักดนตรีในวงปี่พาทย์ทุกคน ต้องเริ่มหัดเรียนฆ้องวงใหญ่ก่อนจึงจะเปลี่ยนเป็นไปเรียนเครื่องดนตรีชนิดอื่นสันนิษฐานว่าฆ้องวงใหญ่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
 

ฆ้องวงเล็ก
ประดิษฐ์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่
3 เพื่อให้เข้ากับฆ้องวงใหญ่ มีขนาดเล็กกว่า แต่มีจำนวนลูกฆ้อง มากกว่า โดยมี 18 ลูก ทำหน้าที่ ดำเนินทำนองโดยแปรลูกฆ้อง ออกเป็นทำนองเต็ม ทำหน้าที่สอดแทรกทำนองในทางเสียงสูง
 
ฆ้องมอญวงใหญ่
เป็นเครื่องดนตรีของชาวรามัญ นักดนตรีไทยนำเครื่องดนตรีชนิดนี้มาบรรเลงทั่วไป เพื่อประกอบ ละครพันทางบ้างประโคมในงานศพบ้าง ลักษณะของฆ้องมอญจะมีรูปทรงโค้งขึ้นไปทั้งสองข้าง มีลวดลาย ตกแต่งสวยงาม มีลูกฆ้อง 15 ลูก ดำเนินทำนองเพลง และทำหน้าที่เหมือนฆ้องวงใหญ่ของไทย

ฆ้องมอญวงเล็ก
ประดิษฐ์ขึ้นตามแบบอย่างฆ้องวงเล็ก แต่ให้มีรูปทรงเหมือนฆ้องมอญ มีลูกฆ้อง 18 ลูก ดำเนินทำนองเพลง และทำหน้าที่แปรลูกฆ้องเหมือนฆ้องวงเล็กของไทย
เครื่องประกอบจังหวะ ได้แก่ ตะโพน กลองทัด กลองสองหน้า ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง กลองแขก โทน-รำมะนา กลองชาตรี
ตะโพน
เป็นกลองสองหน้า หน้าหนึ่งใหญ่ และ อีกหน้าหนึ่งเล็ก หน้าใหญ่เรียกว่า หน้าเท่ง หน้าเล็กเรียกว่าหน้ามัดใช้ตีกำกับจังหวะ หน้าทับต่างๆ ของเพลงไทยในวงปี่พาทย์ ตะโพนสามารถตีได้ ถึง 12 เสียง
                                                                         
กลองสองหน้า  มีรูปร่าง เหมือนเปิงมาง กลองชนิดนี้ สร้างขึ้นเลียนแบบเปิงมาง แต่มีขนาดใหญ่กว่า ใช้ตีกำกับจังหวะในวงปี่พาทย์แทนตะโพน  เพื่อใช้ประกอบการขับเสภา เริ่มใช้มาตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่ 2
กลองทัด  เป็นกลองที่ชาวไทยทำขึ้นใช้แต่เดิมมีขนาดใหญ่ที่สุดในวงปี่พาทย์กลองชนิดนี้เป็น  กลองสองหน้าขึงด้วยหนัง ตัวกลองทำด้วยไม้ เนื้อแข็ง ข้างกลองมีห่วงสำหรับแขวนหรือตั้ง ขาหยั่ง 1 ห่วง เวลาตีใช้ตีเพียงหน้าเดียว ไม้สำหรับใช้ตีเป็นไม้รวก 2 ท่อน

รำมะนา
เป็นกลองหน้าเดียว มี 2 ชนิด รำมะนามโหรี ขนาดเล็กใช้ตีกำกับจังหวะในวงเครื่องสาย และวงมโหรี โดยใช้ตีคู่กับ โทน รำมะนาลำตัด ขนาดใหญ่ไทยได้แบบอย่างมาจากชวา ในสมัย รัชกาลที่ 5 ใช้ประกอบ การแสดงลำตัด
กลองชนะ
รูปร่างเหมือนกลองมลายู แต่สั้นกว่า แต่เดิมใช้ตีเป็นจังหวะในการฝึกเพลงอาวุธ จึงเรียกกลองชนิดนี้ว่า กลองชนะ  เพื่อเป็นมงคล ในสมัยต่อมาใช้ตีเป็นเครื่อง ประโคมในขบวนเสด็จพยุหยาตรา
กลองแขก
รูปร่างเป็นทรงกระบอก ชุดหนึ่งมี  2 ลูก ลูกหนึ่งเสียงต่ำ เรียก “ตัวเมีย”อีกลูกหนึ่ง เสียงสูง  เรียก “ตัวผู้” ใช้ตีด้วยฝ่ามือ ใช้ตีกำกับในวงปี่พาทย์ และใช้แทนโทน-รำมะนา ในวงเครื่องสายได้อีกด้วย
กลองมลายู รูปร่างเหมือนกลองแขก แต่ สั้นกว่า  ไทยนำมาใช้ในขบวนแห่ ต่อมาใช้ตีประโคมศพโดยจัดเป็นชุด ชุดหนึ่งมี 4 ลูก ภายหลังได้ลดลงเหลือเพียง 2 ลูก เพื่อใช้บรรเลงคู่กันเหมือน กลองแขกในวงปี่พาทย์
กลองชาตรี รูปร่างของกลองชาตรีเหมือนกลองทัด แต่รูปร่างเล็กกว่ามาก ใช้บรรเลงร่วมใน วงปี่พาทย์ชาตรี กลองนี้เรียกตามเสียง ที่ตีอีกอย่างหนึ่งว่า “กลองตุ๊ก”
กลองยาว เป็นกลอง หน้าเดียว มีสายสำหรับสะพาย คล้องคอ ใช้มือตี เพื่อความสนุกสนาน ผู้เล่นอาจใช้กำปั้น ศอก เข่า ศรีษะ ฯลฯ เราได้แบบอย่างการตีกลองยาวมาจากพม่าสมัยที่พม่าเข้ามาตั้งแต่ค่ายเพื่อทำสงครามกับไทย
มโหระทึก เป็นกลองชนิดหนึ่งแต่เป็นกลองหน้าเดียว หล่อด้วยโลหะผสมทองแดง ตะกั่ว ดีบุก กว้าง 65 เซนติเมตร สูง 53 เซนติเมตร ก้นกว้าง 70.5 เซนติเมตร เอว 50 เซนติเมตร คอดเป็นมโหระทึก ใช้ในพระราชพิธี และ กระทำกิจของสงฆ์
ฉิ่งเป็นเครื่องตีกำกับจังหวะ ทำด้วยโลหะ รูปร่างกลม เว้ากลาง ปากผาย คล้ายฝาขนมครก ไม่มีจุกสำรับหนึ่งมีสองฝาเจาะรูตรงกลางที่เว้า  สำหรับร้อยเชือกโยงฝาทั้งสอง เพื่อสะดวกในการถือตี ฉิ่งมีสองขนาด ขนาดใหญ่ใช้ประกอบวงปีพาทย์ ขนาดเล็ก ใช้กับวงเครื่องสายและมโหรี
ฉาบ
เป็นเครื่องตีกำกับจังหวะ ทำด้วยโลหะ  รูปร่างคล้ายฉิ่ง แต่ มีขนาดใหญ่กว่าและ หล่อบางกว่า มีสองขนาด ขนาดใหญ่กว่าเรียกว่า  ฉาบใหญ่ ขนาดเล็กกว่า เรียกว่า ฉาบเล็ก การตีจะตีแบบประกบ และตีแบบเปิดให้เสียงต่างกัน
กรับพวง ทำด้วยไม้หรือโลหะ ลักษณะเป็นแผ่นบาง หลายแผ่นร้อยเข้าด้วยกัน ใช้ไม้หนาสองชิ้นประกบไว้ ลักษณะคล้ายพัดกรับเสภา ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยม มีสันมน

เครื่องเป่า
เครื่องเป่า เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงจากลมเป่า อุปกรณ์ดังเดิมได้จากพืช ได้แก่หลอดไม้ต่าง ๆ และจากสัตว์ ได้แก่ เขาสัตว์ต่างๆ ต่อมาได้มีวิวัฒนาการด้วยการเจาะรูและทำลิ้น เพื่อให้เกิดระดับเสียงได้มาก เช่น  ขลุ่ย ปี่
ปี่ เป็นเครื่องดนตรีที่มีมาแต่โบราณ มีลักษณะ  และวิธีการเป่าที่เป็นเอกลักษณ์ทั้งยังเลียนเสียงคำพูดของคนได้ชัดเจน  และใกล้เคียงที่สุด ปี่ที่กล่าวมานี้ มี 3 ชนิด คือ ปี่ใน  ปี่กลาง  และปี่นอก มีรูปร่างเหมือนกัน ต่างกันที่ขนาด

ปี่ใน มีขนาดใหญ่ ใช้ บรรเลง ในวงปี่พาทย์ไม้แข็ง  และประกอบการแสดงโขน ละคร


ปี่กลาง มีขนาดกลาง ใช้ บรรเลง ในวงปี่พาทย์ไม้แข็ง  และประกอบการแสดงโขน หนังใหญ่ ซึ่งแสดง กลางแจ้ง


ปี่นอก มีขนาดเล็ก่ใช้ บรรเลง ใน วงปี่พาทย์ไม้แข็ง (ปัจจุบันไม่นิยมนำมาประสมวง)  และวงปี่พาทย์ชาตรี ประกอบ
ละครชาตรี  โนรา หนังตะลุง


ปี่ชวา เดิมเป็นของชวา ตัวปี่มี 2 ท่อน ท่อนบนเรียกเลาปี่  ท่อนล่างเรียกลำโพง ทำด้วยไม้ หรืองาช้าง ปี่ชวา มีเสียงแหลมดัง ใช้เป่าคู่กับกลองแขกเรียกวงปี่กลองแขก ใช้ประกอบการแสดงกระบี่กระบอง และการชกมวยไทย ประสมกับกลองมลายูเรียกว่า วงปี่กลองมลายู และวงบัวลอยนอกจากนี้ยังประสม ในวงปี่พาทย์นางหงส์ และวงเครื่องสายปี่ชวา


ปี่มอญ เป็นปี่ของชาวรามัญ ประกอบด้วยเลาปี่ และลำโพงปี่ทำด้วยทองเหลืองทั้ง 2 ส่วนนี้ สอดสวมกัน หลวมๆ มีเชือกผูกโยงมิให้หลุดจากกัน  ปี่มอญมีเสียงโหยหวน  ฟังแล้วชวนให้เกิดอารมณ์เศร้า ใช้ประสม ในวงปี่พาทย์มอญ และ บรรเลงประกอบใน การฟ้อนของภาคเหนือ

ปี่ซอ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าปี่จุม  เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือทำด้วยไม้รวกมีหลายขนาดแตกต่างกันไปประสมในวงปี่ซอ และบรรเลงร่วมกับวงดนตรีพื้นเมืองอื่นๆของภาคเหนือปี่ซอเมื่อบรรเลงรวมเป็นวงปี่ซอจะมี 4 เล่ม คือ ปี่แม่ ปี่กลาง ปี่ก้อย และปี่เล็ก
ขลุ่ย เป็นเครื่องเป่าดั้งเดิมของไทย เหตุที่เรียกว่า “ขลุ่ยสันนิษฐานว่าเรียกตามเสียงที่ได้ยิน ปกติ ขลุ่ยจะทำด้วยไม้รวกปล้องยาวๆ ไว้ข้อทางส่วนปลาย  วัสดุอื่นที่นำมาแทนมีงาช้าง ไม้จริง ท่อเอสลอน ขลุ่ยเลาหนึ่งมีรูสำหรับนิ้วปิดเปิดเพื่อเปลี่ยนเสียง 7 รู มีดากปิดส่วนบนสำหรับเป่าลมตอนล่างมีรูปากนกแก้ว และนิ้วค้ำ
ขลุ่ยอู้ เป็นขลุ่ยขนาดใหญ่ที่สุดใช้ประสมวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ เป็นต้นขลุ่ยอู้ เป็นขลุ่ยที่มีขนาดใหญ่มีความยาวประมาณ 60 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร เสียงต่ำกว่าขลุ่ยเพียงออสามเสียง คือปิดหมดทุกรูเป็นเสียงซอล นิยมใช้ในเครื่องปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ซึ่งเป็นดนตรีที่มีระดับเสียงต่ำ แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยได้ใช้เนื่องจากหาคนที่มีความชำนาญในการเป่าได้ยาก

ขลุ่ยเพียงออ เป็นขลุ่ยขนาดกลาง ใช้ประสมในวงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ วงเครื่องสายปี่ชวา วงเครื่องสาย วงมโหรี เป็นต้นขลุ่ยเพียงออ เป็นเครื่องดนตรีไทย ประเภทเครื่องเป่าชนิดไม่มีลิ้น ทำจากไม้รวกปล้องยาวๆ ด้านหน้าเจาะรูเรียงกัน สำหรับปิดเปิดเพื่อเปลี่ยนเสียง ตรงที่เป่าไม่มีลิ้นแต่มีดาก ซึ่งทำด้วยไม้อุดเหลาเป็นท่อนกลมๆยาวประมาณ ๒ นิ้ว สอดลงไปอุดที่ปากของขลุ่ย แล้วบากด้านหนึ่งของดากเป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ เราเรียกว่า ปากนกแก้ว เพื่อให้ลมส่วนหนึ่งผ่านเข้าออกทำให้เกิดเสียงขลุ่ยลมอีกส่วนจะวิ่งเข้าไปปลายขลุ่ยประกอบกับนิ้วที่ปิดเปิดบังคับเสียงเกิดเป็นเสียงสูงต่ำตามต้องการไตปากนกแก้วลงมาเจาะ ๑ รู เรียกว่า รูนิ้วค้ำ

ขลุ่ยหลิบ หรือ ขลุ่ยหลีกเป็นขลุ่ยขนาดเล็ก แต่ใหญ่กว่าขลุ่ยกรวด ใช้ประสมในวงเครื่องสาย วงมโหรีและวงเครื่องสาย ปี่ชวา เป็นต้น ขลุ่ยหลิบ เป็นขลุ่ยที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาขลุ่ยไทยมีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร มีเสียงสูงกว่าขลุ่ยเพียงออเป็นคู่สี่ คือปิดหมดทุกนิ้วเป่าเป็นเสียงฟา นิยมใช้เป่าในวงมโหรีเครื่องคู่ เครื่องใหญ่ และวงเครื่องสายคู่ โดยเป็นเครื่องนำในวงเช่นเดียวกับระนาด หรือซอด้วง นอกจากนี้ยังใช้ในวงเครื่องสายปี่ชวา โดยบรรเลงเป็นพวกหลังเช่นเดียวกับซออู้

ขลุ่ยเคียงออ
ขลุ่ยเคียงออ หรือ ขลุ่ยกรวด เป็นขลุ่ยที่มีขนาดใหญ่กว่าขลุ่ยหลิบแต่เล็กกว่าขลุ่ยเพียงออ มีความยาวประมาณ 40 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2.2 เซนติเมตร ระดับเสียงสูงกว่าขลุ่ยเพียงออหนึ่งเสียง แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยนิยมมากนัก
 ขลุ่ยรองออ
ขลุ่ยรองออ เป็นขลุ่ยที่มีขนาดใหญ่กว่าขลุ่ยเพียงออและมีระดับเสียงต่ำกว่าหนึ่งเสียง อาจจะใช้ในวงมดหรีแทนขลุ่ยเพียงออในกรณีที่เต้องการเสียงต่ำ
 ขลุ่ยออร์แกน
ขลุ่ยออร์แกน เกิดขึ้นเนื่องจากในระยะหลังวงเครื่องสายได้นำเอาเครื่องดนตรีตะวันตกเข้ามาร่วมเล่นด้วย ซึ่งเรียกว่าวงเครื่องสายผสม เช่น เล่นผสมกับเปียโนหรือออร์แกน เป็นต้น
ขลุ่ยนก
ขลุ่ยนก ขลุ่ยชนิดนี้ใช้เป่าเป็นเพลงไม่ได้ เพราะมีเสียงไม่ครบเสียงดนตรี จึงใช้เป่าเป็นเสียงนกประกอบเพลงที่มีเสียงนก เช่น เพลงตับนก แม่ศรีทรงเครื่อง เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น